AWS Data Center อยู่ที่ไหนบ้าง ?

Pam Parichat
2 min readJun 13, 2019

สำหรับใครที่สงสัยว่า Data Center ที่ให้บริการ AWS Service ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง มีโครงสร้างเป็นอย่างไร และเราสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบให้คุณค่ะ

AWS Global Infrastructure (JUN 2019)

Regions

ปัจจุบัน (JUN 2019) AWS เปิดให้บริการทั้งหมด 21 Regions (ภูมิภาค) กระจายตัวอยู่ทั่วโลกในแต่ละ Region จะถูกออกแบบให้ทำงานแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง Service ที่ให้บริการก็จะไม่เท่ากัน รวมถึงราคาค่าใช้บริการในแต่ละ Region ก็ไม่เท่ากันอีกด้วย ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือจะถูกกว่า ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ใช้บริการ Region ไหนมีคนใช้งานเยอะราคาก็จะถูกกว่า (เป็นไปตามหลัก Economic of Scale อะนะ) แต่ไม่ต้องห่วง ตั้งแต่เปิดให้บริการมาสิบกว่าปี AWS ไม่เคยขึ้นราคาเลยสักครั้ง มีแต่ประกาศลดลง ลดลง นั่นเพราะมีคนใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆยังไงล่ะ ฮ่าๆ

จากภาพด้านบน วงกลมสีส้มก็คือตำแหน่งของ Region ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ส่วนวงกลมสีเขียว (หรือฟ้า -*-) คือ ตำแหน่งของ Region ที่มีแผนว่าจะเปิดให้บริการในอนาคต

Availability Zones

ในแต่ละ Region จะต้องมีอย่างน้อย 2 Availability Zones ให้บริการ ซึ่ง Availability Zone หรือ AZ ก็คือกลุ่มของ Data Center ที่ถูกออกแบบให้แยกออกจากกันในแง่ของความเสี่ยงในการล้มเหลว ทั้งในเรื่องแหล่งสาธารณูปโภค (น้ำ, ไฟ, ฯลฯ) ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ เพื่อให้ในกรณีที่ AZ ใดเกิดเหตุขัดข้อง จะไม่ส่งผลกระทบกับ AZ อื่นๆที่ให้บริการอยู่ใน Region เดียวกัน โดยแต่ละ AZ จะเชื่อมต่อกันด้วยเน็ตเวิร์กที่ low latency, high throughput, และ highly redundant

จากภาพด้านบน ตัวเลขที่แสดงอยู่ในวงกลมก็คือจำนวน AZ ที่ให้บริการในแต่ละ Region นั่นเอง ***ที่เห็นเลข 1 ในวงกลมนั้นอย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ (ไหนว่าขั้นต่ำต้องมี 2 AZ) วงนั้นคือ Asia Pacific (Osaka) เป็น Local Region ไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปใช้นะคะ อยากใช้ต้องไปคุยกับ Sales AWS โลดเลยค่า…

ภาพแสดงโครงสร้างคร่าวๆของ Region และ Availability Zone

จะเห็นได้ว่า AWS ได้ออกแบบ Infrastructureให้แข็งแรงและมีความน่าเชื่อถือ และเอื้อให้กับผู้ใช้งานในการสร้างระบบที่แข็งแกร่งแล้ว แต่ผู้ใช้งานเองก็ต้องนำโครงสร้างของ AWS ที่เปิดให้บริการนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มความน่าเชื่อถือ และเสถียรภาพของระบบของเราด้วยเช่นกัน

การนำโครงสร้างของ AWS มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสร้าง EC2 ให้ทำงานร่วมกันแบบ Active-Active ระหว่างหลายๆ AZ แล้วใช้ Elastic Load Balance มาช่วยในการกระจายโหลด หรือการใช้ RDS แบบ Multi-AZ (ความดีงามของ RDS Multi-AZ คือ เมื่อ DB ที่ AZ นึง fail ระบบจะ failover ไปยัง DB อีก AZ หนึ่งอัตโนมัติ โดยที่ endpoint ของ DB host ไม่เปลี่ยน ฝั่ง app ก็สบาย ไม่ต้องมานั่งแก้ connection) เป็นต้น

การเยี่ยมชม AWS Data Center

สำหรับใครที่อยากเข้าเยี่ยมชม Data Center ของ AWS นั้น ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ AWS ยังไม่เปิดให้เข้าเยี่ยมชม แต่เดี๋ยวก่อน! AWS มีเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของ Data Center ของ AWS อย่างละเอียด รวมถึงแผนผังจำลอง และรูปภาพ และรายละเอียดการบริหารจัดการ Data Center เอาไว้ตาม link ด้านล่างแล้ว สามารถเข้าชมได้ทันทีค่ะ

https://aws.amazon.com/compliance/data-center/data-centers/

แต่หากใครยังไม่ไว้ใจที่จะฝากชีวิตเอาไว้กับ AWS เพียงเพราะข้อมูลจากหน้าเว็บที่สวยงามแล้วล่ะก็ ยังมีข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม เนื่องจาก AWS ได้รับการตรวจสอบจาก third-party audit ที่ตรวจสอบตามมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น ISO27001, SOC1, SOC2, PCIDSS ฯลฯ โดยสามารถขอดูรายงานการตรวจสอบได้จาก Service AWS Artifact เลยจ้า…

https://aws.amazon.com/artifact/

--

--